การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ฯ
แผนภาพการเชื่อมโยงฯ
What is Thailand 4.0?
Thailand 4.0 is an economic model that aims to unlock the country from several economic challenges resulting from past economic development models which place emphasis on agriculture (Thailand 1.0), light industry (Thailand 2.0), and advanced industry (Thailand 3.0). These challenges include a middle income trap, an inequality trap, and an imbalanced trap.
Smart Farmer is a name that is used in many contexts. since the application of technology in conjunction with agriculture in the Royal Initiative Project until the work of farmers in the new era, both Thai and international In the future, this type of farming will definitely increase.
What is Smart Farmer?
Smart Farmer is a farmer who has applied technology and digitalization, innovation, data or new business ideas. to drive the efficiency of their own production as much as possible under the most suitable budget
Many people understand that the work of Smart Farmer is far-fetched, but in reality this is not so. Using smart devices and applications to collect agricultural data Optimal production and cultivation calculations It's the first step of Smart Farmer. The Smart Farmer concept expands even further. Due to the development of technology and digital systems that makes various devices related Whether it's IoT devices, Big Data applications, drone applications or using various forms of robots Together with agriculture, it is easier to find. lower cost
ASEAN Economic Community (AEC)
We are ready to develop into AEC, for sustainable and far-flung development, and to create a single market and production base within ASEAN. The AEC will allow for the free movement of goods, services, skilled labor, and investment among the 10 ASEAN member nations and to facilitate the freer flow of capital.
We have a finish line, and we are to go there!
Welcome to our district.
(Travel Informations)
If you want a small and peaceful town to relax or travel. We recommend you. Kho Wang is the city you are looking for.
I guarantee you will not be disappointed!
Kho Wang is a district of Yasothon province. Located at the southern end of the province.
Kho Wang is a district separated from Amphoe Chanachai, established as a sub-district Kho Wang on June 2, 1975, divided into 3 sub-districts, 1.Tambon Fa Huan, 2.Tambon Kut Nam Sai, 3.Tambon Nam Om, A total of 30 villages.
Later upgraded to district on the 26th. March B.E. 2522 and divided the administrative area at that time into 4 sub-districts, 1.Tambon Fa Huan, 2.Tambon Kud Nam Sai, 3.Tambon Nam Om and 4.Tambon Kho Wang.
Kho Wang is a district in the south of Yasothon province in northeastern Thailand. Kho Wang District has tourist attractions and agricultural markets. a small district, but there are many things that are interesting.
6 Top-Rated Tourist Attractions in Kho Wang .
1. Don That Archaeological Site
2. 1,000 Years of Bai Sema, Wat Ban Pao
3. Ancient Sims, Ban Khae Temple
4. Ancient Sims, Ban Fa Huan Nuea Temple
5. City Pillar Shrine, Kho Wang District
6. Luang Pu Wang Romyen, Wat Ban Kho wang
Kho Wang District Agriculture Office, Address : 3 Moo 11, Kho Wang subdistrict, Kho wang district, Yasothon province Thailand 35160
If you have any questions or for more information don't hesitate to contact us.
Phone. : 045 - 797 057
E-Mail : khowang@doae.go.th
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
คำขวัญอำเภอค้อวัง
"ค้อวังเมืองน่าอยู่ ถิ่นหลวงปู่มหาแปลง แหล่งข้าวปลาลุ่มน้ำชี ประเพณีล้วนงดงาม เลืองลือนามผลิตภัณฑ์"
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เกษตรค้อวังนะคะ เราได้รวมข้อมูลเพื่อการศึกษาด้านเกษตรไว้มากมาย มีทั้งภาพนิ่งและวิดีโอเคลื่อนไหว ให้ท่านได้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น และนำไปสู่การเรียนรู้ พัฒนาต่อยอดการเกษตรของท่านต่อไป เรามุ่งหวังสู่การพัฒนาข้อมูลข่าวสารเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดประโยช์แก่พี่น้องเกษตรกรของเราทุกพื้นที่ ขอขอบคุุณที่แวะเวียนมาเยี่ยมเว็บไซต์ของเรานะคะ
ขอบคุณค่ะ
ประวัติอำเภอค้อวัง
เดิมพื้นที่ตั้งของตัวอำเภอค้อวัง คือ "บ้านโนนค้อ" อยู่ในเขตตำบลฟ้าห่วน อำเภอมหาชนะชัย ต่อมามีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ "วัง" เดินทางมาจากอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาบำเพ็ญพรตอยู่ที่บ้านโนนค้อ พระภิกษุรูปนี้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่ง ราษฏรจึงอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโนนค้อ เป็นกลุ่มเป็นก้อนและใช้ชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า "บ้านค้อวัง" จนกระทั่งปัจจุบัน
ต่อมาท้องที่อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร มีอาณาเขตกว้างขวาง แบ่งการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 108 หมู่บ้าน การปกครองไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะท้องที่ตำบลฟ้าห่วน ตำบลกุดน้ำใส และตำบลน้ำอ้อม อีกทั้ง 3 ตำบลนี้ระยะทางห่างไกลจากที่ตั้งอำเภอ การคมนาคมติดต่อกับอำเภอไม่สะดวกและลำบาก มีโจรผู้ร้ายชุกชุม เพื่อแบ่งภาระการปกครองและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงได้ขอแยกจากอำเภอมหาชนะชัยตั้งเป็นกิ่งอำเภอค้อวัง เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พุทธศักราช 2518 แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลฟ้าห่วน ตำบลกุดน้ำใส ตำบลน้ำอ้อม รวมทั้งสิ้น 30 หมู่บ้าน ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2522 และได้แบ่งเขตการปกครองในขณะนั้นออกเป็น 4 ตำบล คือ ตำบลฟ้าห่วน ตำบลกุดน้ำใส ตำบลน้ำอ้อม และตำบลค้อวัง
ค้อวัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยโสธร โดยเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทิศใต้สุดของจังหวัด อำเภอค้อวังตั้งอยู่ทางทิศใต้สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอมหาชนะชัย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเขื่องใน (จังหวัดอุบลราชธานี)
ทิศใต ้ ติดต่อกับ อำเภอยางชุมน้อยและอำเภอราษีไศล (จังหวัดศรีสะเกษ)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอราษีไศล (จังหวัดศรีสะเกษ) และอำเภอมหาชนะชัย
สวัสดีค่ะ พี่น้องเกษตรกรที่รักทุกท่านคะ เพื่อความรวดเร็วในการรับรู้ข่าวสาร และข้อมูลการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ของเราชาวอำเภอค้อวัง และพื้นที่อื่นๆ เรามี Facebook page ที่ใช้แชร์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทุกวัน....
อย่าลืมกดติดตามนะคะ
เกษตรพาไปดู...หอมแดง พืชเศรษฐกิจค้อวัง จ.ยโสธร
VIDEO
สำรวจน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร ตำบลฟ้าห่วน
VIDEO
เกษตร....พาไปดู ปลูกพลู สร้างรายได้เสริม
VIDEO
เกษตร...พาไปดูประเมินผลผลิตข้าวนาปี 2564/65
VIDEO
การทอผ้า ทำผ้าEco print ทำอย่างไร ไปดูกัน
VIDEO
คลังข้อมูลการวิจัยการเกษตรไทย
แหล่งรวบรวมงานผลงานวิจัยและความรู้ด้านการเกษตรที่มาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพราะ TARR เชื่อมต่อกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูลโดยตรง..
กรมวิชาการเกษตร โดยคณะทำงานจัดการองค์ความรู้ รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการผลิตพืชสู่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นมือถือ ซึ่งท่านสามารถโหลดติดตั้งไว้ใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว ...
สมุดทะเบียนเกษตรกร เป็นการระบุตัวตนและให้ข้อมูลกับกรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานรัฐที่มีบทบาทในการรับข้อมูลและปรับปรุงทะเบียนของเกษตรกรไทย โดยการขึ้นทะเบียนจะช่วยให้สิทธิประโยชน์ในฐานะเกษตรกร และข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ภาครัฐทราบปริมาณผลผลิต และแหล่งผลิต เพื่อใช้บริหารจัดการการจำหน่าย การกระจายสินค้า และกำหนดราคาได้อย่างเหมาะสม
สมุดทะเบียนเกษตรกรแบบดิจิตอล DOAE Farmbook แอปพลิเคชันโดยรัฐบาลที่เปลี่ยนการพกพาสมุดทะเบียนแบบเดิมให้สะดวกขึ้น ไม่ต้องกลัวหายหรือลืมเมื่อพบสำนักงานเกษตรอำเภอ ภายในแอปพลิเคชัน ผู้ใช้จะสามารถ Log in ได้ด้วยรหัสที่ลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ...
การปรับเปลี่ยนวิถีทำการเกษตร โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในการผลิต การตลาด แทนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมกำลังเป็นกระแสที่เกิดขึ้นในวงกว้าง โดยเฉพาะในยุคดิจิตอลที่โลกถูกย่อให้เล็กลง ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายถึงกันอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่ต้องการยกระดับเกษตรกรไทยให้ก้าวสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ หรือ Smart Farmer ด้วยการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือกลไกลดความเสี่ยงจากการทำการเกษตรโดยพึ่งพาธรรมชาติ ช่วยลดต้นทุน สร้างรายได้และมูลค่าเพิ่ม ขณะเดียวก็เปิดโลกทัศน์จากข้อมูลข่าวสารซึ่งสื่อสารถึงกันแค่ชั่วพริบตา ทำให้สามารถปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำการประมง เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาด
แม้ค่อนข้างยากและท้าทาย แต่ถือเป็นโอกาสและทางออกที่เกษตรกรไทยในการพลิกอนาคตใหม่ โดยนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ควบคู่กับสร้างช่องทางการตลาด ทำให้เกษตรกรมีรายได้อย่างมั่นคงยั่งยืนในวันข้างหน้า
การทำเกษตรยุคใหม่ที่กำลังเป็นเทรนด์ไปทั่วโลกนั้น เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรมากมาย ซึ่งถูกนำมาใช้พัฒนาวิถีการทำการเกษตร อำนวยความสะดวกให้กับชีวิตของเกษตรกรยุคใหม่ (Smart Farmer) แทบทุกด้าน รวมถึงช่วยแก้ปัญหาทั้งด้านพื้นที่การเกษตรที่ลดลงเพราะการขยายตัวของสังคมเมือง สภาพดินฟ้าอากาศที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ จำนวนเกษตรกรที่น้อยลง ผลกระทบจากภัยพิบัติ ฯลฯ เพื่อให้พวกเรายังคงมีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการบริโภคได้
แล้วเราจะเห็น นวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ แบบไหนเกิดขึ้นในประเทศไทยบ้าง ? วันนี้ NIA ได้รวบรวมเทรนด์ด้านนวัตกรรมการเกษตรที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพื่อเป็นไอเดียให้เกษตรกร และผู้ประกอบการนวัตกรรม ได้นำไปพัฒนาการทำการเกษตร และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
7 วิถี เกษตรนวัตกรรม รับคนไทยกลับถิ่นฐานสร้างอาชีพใหม่ ยุค Post-covid
1. เทคโนโลยีทางชีวภาพทางการเกษตร
2. เกษตรดิจิทัล
3. การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่
4. หุ่นยนต์ช่วยดูแลการเกษตร
5. บริการทางธุรกิจเกษตร
6. การจัดการหลังจากการเก็บเกี่ยวและขนส่ง
7. ไบโอรีไฟนารี่
Smart Farming ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร
Smart Farming หรือ การจัดการการเกษตรแบบอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการผลิตภาคการเกษตร กลายเป็นประเด็นที่หลายภาคส่วนให้ความสนใจ ซึ่งถูกระบุไว้ในนโยบายการพัฒนาประเทศไทย 4.0
โดยหัวใจหลักคือการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการและเพิ่มผลผลิตภาคการเกษตร เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรและใช้ปัจจัยต่างๆ ได้คุ้มค่า เกิดความแม่นยำสูง(Precision Agriculture) ในการดำเนินการ ซึ่งยังคงมีความซับซ้อนที่เข้าถึงเกษตรกรได้ยากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ด้วยปัจจัยด้านราคาที่ยังคงสูงเกินเอื้อมถึง และตัวเกษตรกรเองยังขาดความเข้าใจในเทคโนโลยีที่ซับซ้อน แต่ใช่ว่าจะไม่ตอบรับเทคโนโลยีใดๆ เลย...
แผนพัฒนาการเกษตร
ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 2564)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้จัดทําแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ซึ่งเป็นภารกิจตาม พระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 โดยมีการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เกษตรกร สถาบันการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค และเมื่อวันที่ 22 กรกฎําคม 2559 คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้แทนเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป็นกรรมการ ได้ให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ 2560-2564
เกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางการผลิตที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ
และความปลอดภัยอาหารของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมทั้ง
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้อง
กับกระแสโลกในปัจจุบัน รัฐบาลได้เห็นความสำคัญในการผลักดัน
เรื่องนี้ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นหน่วยงานหลัก ในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์
แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์
แห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของ
ประเทศไทยต่อเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ
ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551 - 2554
หลวงปู่วังร่มเย็น (Luang Pu Wang Romyen, Wat Ban Kho wang)
บ้านค้อวังและหลวงปู่วัง ที่เป็นชื่อของอำเภอค้อวัง ณ วัดบ้านค้อวัง หรือโนนค้อในอดีต โนนค้อชุมชนโบราณทับซ้อนยุคสมัย จนมาถึงบรรพบุรุษยุคหลวงปู่วัง หลวงปู่แปลง ผู้สร้างค้อวังให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างเช่นปัจจุบัน นักท่องเที่ยวและผู้ผ่านไปมา จึงแวะกราบสักการะหลวงปู่วังร่มเย็น พระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอค้อวังมิได้ขาด
ศาลหลักเมืองอำเภอค้อวัง (City Pillar Shrine, Kho Wang District)
ศาลหลักเมืองค้อวัง อ.ค้อวัง รูปแบบเป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีทางขึ้น 3 ด้าน ด้านหลังก่อผนังทึบและสร้างฐานชุกชีไว้เพื่อวางพระพุทธรูปและวัตถุมงคลต่างๆ รวมทั้งรูปปั้นหลวงปู่มหาแปลง ทำการวางศิลาฤกษ์โดยหลวงปู่มหาแปลง ปคุโณ ผู้มีคุณูปการมากมายแก่ชาวค้อวัง อีกทั้งท่านยังเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมวางผังอำเภอค้อวังด้วย โดยแยก ฝั่งศูนย์ราชการและฝั่งชาวบ้านอยู่อาศัยไว้คนละฝากถนน เพื่อง่ายต่อการพัฒนาและดูแลรักษา......
สิมโบราณวัดบ้านฟ้าห่วนเหนือ (Ancient Sims, Ban Fa Huan Nuea Temple)
สิมหรืออุโบสถโบราณวัดฟ้าห่วนเหนือ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร รูปแบบเป็นสิมก่ออิฐถือปูนผสมไม้ ส่วนที่เป็นปูน ฐาน ผนัง เสา ต่างๆ สภาพสมบูรณ์มาก หากแต่หลังคาโครงไม้มุงสังกะสีชำรุดผุพังเป็นอย่างมาก รูปแบบสิมเป็นลักษณะผสมผสานศิลปะอีสานพื้นบ้านและเชิงช่างญวน ถือว่าเป็นสิมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ผนังหนา การประดับประดาด้วยปูนปั้นลายพญานาค ลายดอกผักแว่นประดับกระจก ปัจจุบันได้อนุรักษ์งานครูช่างโบราณไว้ ให้ลูกหลานได้ศึกษาสืบไป...
สิมโบราณวัดบ้านแข่ (Ancient Sims, Ban Khae Temple)
สิมปูนผสมไม้ หลังเล็กๆ สร้างปี พ.ศ 2504 อายุ 59 ปี ยังไม่ทราบประว้ติแน่ชัด งานปูนต่างๆ น่าจะบูรณะในภายหลัง โดยฉาบก่อทับ ส่วนงานไม้ คือ คันทวย 6 คู่ อ.ค้อวัง สิมเก่าๆ แทบจะไม่หลงเหลือให้เห็นแล้ว มีอีกที่หนึ่ง คือ วัดฟ้าห่วนเหนือ... อย่าลืมแวะชมนะครับ
ใบเสมาและหลักเสมาพันปี วัดบ้านเปาะ (1,000 Years of Bai Sema, Wat Ban Pao)
ทับซ้อนยุคสมัย ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองมานานแล้ว ดังจะเห็นได้จากการทำใบเสมา หลักเสมา ที่บ้านเปาะนี้ ซึ่งน่าจะต่างยุคกัน หลักเสมาใบเสมาหินแฮ่หรือศิลาแลง ชนิดหินทราย และชนิดกรวดอัดแน่นเป็นแผ่นเสมา กรรมวิธีต่างๆ ที่ทำขึ้นเป็นความรู้เฉพาะทางของช่างโบราณ จึงเป็นอีกสถานที่ที่เราควรเข้าไปศึกษาเรียนรู้แอ่งอารยธรรมอีสานแห่งนี้ ซึ่งรอบๆ หมู่บ้านนี้ ไม่พบใบเสมาแบบเดียวกันเลย ถัดไปไม่ไกลมากนัก พบสิมและธาตุโบราณ ซึ่งเราเรียกว่า โบราณสถานดอนธาตุ....
โบราณสถานดอนธาตุ (Don That Archaeological Site)
โบราณสถานดอนพระธาตุตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านผิผ่วน ต.ค้อวัง อ.ค้อวัง จ.ยโสธร ลักษณะ เหมือนเจดีย์ หรือชาวบ้านทางอิสานเรียก ธาตุ และใกล้ๆ กันพบซากอาคารทรงสี่เหลี่ยม ซึ่งน่าจะเป็นสิม โบราณสถานดอนธาตุ เป็นแหล่งโบราณสถานที่น่าไปชมอย่างยิ่ง ของอำเภอค้อวัง โบราณสถานดอนธาตุ เป็นสถานที่ที่พบมาประมาณ 200 ปี ปัจจุบันอยู่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลค้อวัง ซึ่งเริ่มปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการจัดงานนมัสการดอนพระธาตุในทุกปี จัดงานประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งชาวชุมชนท้องถิ่นได้ร่วมกันดูแล รักษาสืบทอดให้คงอยู่จนถึงปัจจุบัน